LPT Port คืออะไร

พอร์ต (Port) คือช่องการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง ในคอมพิวเตอร์พอร์ตนั้นมีอยู่ทุกส่วนของคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อภายในคอมพิวเตอร์ด้วยกันเองหรือการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกของคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเชื่อมต่อปริ้นเตอร์ (Printer) ในสมัยก่อนจะเชื่อมต่อผ่านพอร์ต LPT Port หรือจะเรียกว่า Parallel Port ก็ได้

LPT Port นี้เราจะได้ยินคุ้นหูว่าเป็นพอร์ตสำหรับปริ้นเตอร์ซึ่งเป็นพอร์ตขนาน ซึ่งพอร์ตขนานนี้มีความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็วกว่าพอร์ตอนุกรมและยังสามารถส่งข้อมูลขนาด 8 บิตออกไปได้โดยตรง ซึ่งพอร์ต LPT Port นั้นจะมีลักษณะแบน ๆยาว ภายในพอร์ตจะมีอยู่ 25 ช่องเสียบสำหรับเต้ารับ ส่วนเต้าเสียบก็จะมีอยู่ 25 ขา เช่นกัน โดยส่วนมากแล้วเราจะเห็นพอร์ต LPT Port ได้ในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ซึ่งจะเป็นพอร์ตที่ติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ดเลย

LPT Port

LPT Port หรือ Parallel Port จะแบ่งการทำงานของแต่ละขาเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆด้วยกันคือ
1. Data Register (Data bus) จำนวน 8 ขา ซึ่งขาทั้ง 8 ขานี้จะสามารถส่งค่า Register ได้อย่างเดียว แต่ไม่สามารถรับค่า Registerได้
2. Status Register จำนวน 5 ขา จะเป็นขาที่มีสัญญาณเข้าอยู่ 5 สัญญาณและสัญญาณ IRQ กับสัญญาณสงวนไว้อีกสองบิต สัญญาณที่เข้ามาในพอร์ตนี้จะเป็นสัญญาณที่บอกลักษณะปริ้นเตอร์ อาทิ สถานะพร้อมทำงาน ไม่มีกระดาษ แม้แต่การทำงานผิดพลาดของปริ้นเตอร์ โดยพอร์ตนี้จะสามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียวแต่จะไม่สามารถเขียนข้อมูลได้
3. Control Register มีด้วยกัน 4 ขา จะเป็นขาที่คอยควบคุมปริ้นเตอร์ สถานะที่พอร์ตนี้จะดูแลก็คือ เลือกปรินเตอร์ รีเซ็ตปริ้นเตอร์ บอกปริ้นเตอร์ว่ามีข้อมูลเข้ามาเป็นต้น

ในปัจจุบันนี้พอร์ต LPT Port นี้จะไม่มีให้เห็นแล้วในคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆเนื่องจากมีการพัฒนาพอร์ต USB ให้สามารถใช้งานได้ดีกว่า LPT Port แถมยังสะดวกกว่าอีกด้วย ทำให้ปริ้นเตอร์รุ่นใหม่ ๆจะนิยมการเชื่อมต่อด้วยพอร์ต USB ซะเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง

About comadmin

Check Also

Domain Name คืออะไร

โดยปกติแล้วการเข้าเว็บไซต์หรือการใช้อินเตอร์เน็ต เมื่อเราต้องการเข้าไปดูเว็บไซต์ๆหนึ่งเราจะต้องพิมพ์เป็น IP ของเว็บไซต์นั้นซึ่งมันยากต่อการจดจำเป็นอย่างมาก นักพัฒนาเลยได้มีการพัฒนาให้มีการเรียกใช้งานเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้นด้วยการคิดค้น Domain Name ขึ้นมาใช้เรียกแทน IP ซึ่งการใช้ Domain Name นั้นมีความสะดวกสบายกว่าการใช้ IP เพราะเป็นการใช้คำที่ใช้กันอยู่ทุกวัน …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *