แม้ว่าความต้องการทองคำทั่วโลกจะถูกขับเคลื่อนโดยการซื้อของธนาคารกลางเป็นหลัก แต่ความต้องการทองคำในอาเซียนนั้นขับเคลื่อนโดยบุคคลผู้ที่ซื้อทองคำเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งส่วนตัวหรือเพื่อเก็งกำไรเป็นหลัก รวมถึงในประเทศไทยด้วย จากข้อมูลการ เทรดทองคำ ในปี 2565 พบว่าความต้องการทองคำในประเทศไทยสูงเป็นอันดับสามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากทองคำยังคงเป็นที่นิยมสำหรับการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อและความไม่แน่นอนทั่วโลก
จากรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำปี 2565 เวียดนามเป็นผู้ซื้อทองคำรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยมีปริมาณ 69.1 ตัน รองลงมาคืออินโดนีเซีย (50 ตัน) และไทย (37.9 ตัน) โดยความต้องการทองคำที่สูงขึ้นในประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากความต้องการเครื่องประดับที่เพิ่มขึ้น 15% ตามด้วยความต้องการทองคำแท่งและเหรียญที่เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบเป็นรายปี
ในปี 2566ราคาทองคำในประเทศไทยสูงสุดที่ 64,700 ต่อกิโลกรัม หลังจากที่ราคานำเข้าทองคำของไทยเพิ่มขึ้นติดต่อกันในเดือนเมษายนและมีนาคม ในเดือนเมษายน 2566 ราคาทองคำอยู่ที่ 64.7 ล้านเหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 4.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ในเดือนมีนาคม 2566 ราคานำเข้าเฉลี่ยทองคำเพิ่มขึ้น 8.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ในเดือนเมษายน 2566 ประเทศที่มีราคาทองคำสูงสุดคือกัมพูชา (70.8 ล้านเหรียญสหรัฐต่อตัน) ในขณะที่ราคาของสิงคโปร์ (46.3 ล้านเหรียญสหรัฐต่อตัน) อยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุด
ในช่วงครึ่งหลังปี 2566 นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าราคาทองคำยังมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นต่อ เนื่องจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยที่ยังมีต่อเนื่องในช่วงที่มีความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้น ขณะเดียวกันยังได้รับแรงหนุนจากแนวโน้มเงินดอลลาร์อ่อนค่าและการลดการถือครองสกุลเงินดอลลาร์ โดยสัดส่วนของทองคำที่ควรมีในพอร์ตควรจะอยู่ในระดับที่เหมาะสมคือที่สัดส่วน5-10% ของพอร์ตลงทุน
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลการวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำแท่งในประเทศไทยพบว่าจากสภาพเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศที่มีความผันผวน ทำให้ปัจจัยของดัชนีราคาผู้บริโภคในประเทศ อัตราดอกเบี้ยนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐและดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทยไม่สามารถอธิบายปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำแท่งในประเทศไทยได้โดยตรง แต่ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลกระทบกับราคาทองคำแท่งในประเทศไทยก็คือดัชนีดาวน์โจนส์ อีกทั้งในปัจจุบันเนื่องจากนักลงทุนให้ความนิยมในการลงทุนทองคำมากขึ้น ราคาของทองคำจึงมีความผันผวนมากขึ้นด้วย