ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จำเป็นจะต้องมีการกำหนดหมายเลข IP Address ให้กับคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ISP จะเป็นผู้กำหนด IP Address ให้กับผู้ใช้แต่ละคนโดยไม่ซ้ำกัน เพื่อใช้ในการระบุตัวตนของผู้ใช้ และปกติแล้วมักจะเป็นหมายเลขแบบสุ่ม แต่ในปัจจุบันมีผู้ใช้จำนวนมากจนทำให้หมายเลข IP ไม่เพียงพอต่อการแจกจ่าย จึงจำเป็นต้องนำเทคโนโลยี NAT เข้ามาช่วยจัดการ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหานี้
?
NAT ย่อมาจาก Network Address Translation เป็นวิธีที่ใช้สำหรับการสร้างตารางการจับคู่ของ IP แบบสุ่ม เช่น องค์กรมีคอมพิวเตอร์ 50 เครื่องที่ต้องใช้อินเทอร์เน็ต และมี Registered IP จาก ISP 2 หมายเลข การทำ NAT แบบสุ่ม จะทำการตรวจสอบก่อนว่ามี IP ใดว่างให้ใช้งานบ้าง แล้วจึงให้เรียกใช้ IP นั้น ซึ่งการทำ NAT สามารถใช้ทำได้กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า Router หรือ Firewall

ตัวอย่างของ NAT : Network Address Translation
หลักการทำงานของ NAT นั้นจะต้องมีการกำหนด IP ภายในหรือ private IP เช่น 192.168.0.1 ซึ่งเป็น IP ที่ไม่สามารถใช้บนอินเทอร์เน็ตได้ จากนั้น NAT จะแปลง private IP ให้เป็น Registered IP เพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การทำ NAT ปกติแล้วจะพบได้ตามองค์กรหรือหน่วยงานที่มีคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก เช่น โรงเรียน ธนาคาร หรือร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทั้งหมดเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้แล้ว ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกด้วย