DIMM (Dual In-line Memory Module) เป็นโมดูล (Module) ของแรม (RAM) ประเภทหนึ่งแต่ก่อนที่จะรู้จัก DIMM นั้นเราจะต้องรู้จักแรมก่อน แรมเป็นหน่วยความจำไม่ถาวร ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงอยู่ในวงจร แต่เมื่อไม่มีไฟฟ้าจ่ายมายังแรม ข้อมูลทั้งหมดก็จะหายไป แรมถือได้ว่าเป็นหน่วยความจำหลักที่คอมพิวเตอร์ขาดไม่ได้ เนื่องจากการทำงานต่างๆแรมจะติดต่อกับซีพียูอยู่เสมอ
แรมมีหน้าที่การทำงานอยู่ 4 อย่างด้วยกันคือ
1. Input Storage Area หน่วยนี้จะเป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ได้มาจากหน่วยรับข้อมูลซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะถูกเรียกนำไปใช้ในกระบวนการต่อไป
2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นชุดคำสั่งหรือข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่ประมวลผลเสร็จเรียบร้อยแล้วและรอที่จะเอาข้อมูลดังกล่าวส่งไปยังหน่วยแสดงผลที่ผู้ใช้ต้องการต่อไป
4. Program Storage Area เป็นหน่วยความจำที่ไว้เก็บคำสั่งที่ผู้ใช้ได้ทำการสั่งมา โดยที่หน่วยควบคุมจะนำคำสั่งจากหน่วยความจำนี้ไปปฏิบัติที่ละคำสั่ง
แรม (Ram) จะประกอบด้วย ชิปและไอซีขนาดเล็กที่เป็นหน่วยความจำได้ติดตั้งอยู่บนแผงวงจร หรือ Printed Circuit Board ซึ่งนั้นเราเรียกว่า โมดูล (Module) โดยโมดูลของแรมเราสามารถแบ่งเป็น 2 อย่างด้วยกันคือ
1. SIMM ( Single In-line Memory Module) ซึ่งเป็นโมดูลรุ่นแรกซึ่งในปัจจุบันไม่นิยมใช้งานแล้ว โดยจะรองรับการส่งข้อมูล data path 32 bit โดยไอซี หรือชิปที่ติดตั้งบน Printed Circuit Board จะให้สัญญาณเดียวกัน
2. DIMM (Dual In-line Memory Module) ซึ่งเป็นโมดูลรุ่นใหม่ และเป็นสิ่งที่เราจะพูดถึงในบทความนี้ โดย DIMM สามารถรองรับการส่งข้อมูล data path ถึง 64 บิต โดยทั้งสองด้านของ Printed Circuit Board จะให้สัญญาณที่ต่างกัน ซึ่งการติดต่อกับบอร์ดในโมดูลนี้จะติดต่อด้วย connector แบบ 168 pin
แรม(Ram)ที่ใช้งานโมดูลแบบ SIMM ( Single In-line Memory Module) จะเป็นแรมรุ่นเก่าอาทิ DRAM, Fast Page DRAMและ EDO RAM ส่วนแรมรุ่น SDRAM, SDRAM II (DDR) ต่างก็ใช้งานโมดูลแบบ DIMM(Dual In-line Memory Module) ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาโมดูล DIMM ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยทาง Intel เป็นผู้นำการพัฒนาในครั้งนี้แรมรุ่นนี้จะใช้งานกับเครื่อง SERVER ซะเป็นส่วนใหญ่ โดยให้ชื่อว่า FB-DIMM (Fully Buffered – DIMM)