MIDI ย่อมาจาก Musical instruments digital interface คือไฟล์เสียงที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยินด้วยหู ต้องมีการแปลงสัญญาณจากอุปกรณ์แปลงและส่งผ่านลำโพงให้หูได้ยิน MIDI เป็นไฟล์เสียงดิจิตอลที่ใช้นามสกุลไฟล์ว่า .mid ซึ่งภายในไฟล์ MIDI นี้จะไม่ใช่การเก็บเสียงดนตรีเหมือนกับไฟล์เพลงชนิดอื่น ๆเพียงแต่ไฟล์ MIDI เป็นไฟล์ที่เก็บคำสั่งที่จะไปสั่งให้เครื่องดนตรีทำงานตามคำสั่งที่มีการบันทึกไว้ อาทิ ภายในคำสั่งมีการสั่งให้ใช้ตัวโน๊ตนี้ ความดังของเสียงขนาดนี้ เครื่องดนตรีที่รับคำสั่งก็จะทำตามคำสั่งที่ส่งมาจากไฟล์ MIDI
ด้วยสาเหตุนี้ทำให้ไฟล์ MIDI มีขนาดเล็กกว่าไฟล์เพลงชนิดอื่นๆ โดยจุดประสงค์หลักในการคิดค้นไฟล์ MIDI ขึ้นมาในปี 2525 หรือปี 1982 ก็เพื่อให้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์ สามารถที่จะสื่อสารทางดนตรี ทำให้เครื่องดนตรีหลายตัวสามารถที่จะเล่นร่วมกันได้ในเวลาเดียวกัน
แต่อุปสรรคของการใช้ไฟล์ MIDI ก็ยังไม่หมดไปหลังจากมีการเปิดตัวและใช้งานไฟล์MIDI ในปี 1982 แล้วก็ยังไม่มีมาตราฐานการใช้งานที่แน่นอน ผู้ผลิตเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆก็เร่งพัฒนาเครื่องดนตรีทีสามารถเล่นไฟล์ MIDI ในแบบของตัวเอง ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานคือ เมื่อเครื่องดนตรีของยี่ห้อหนึ่งมาต่อกับเครื่องดนตรีของยี่ห้อหนึ่งจะไม่สามารถใช้งาน MIDI ร่วมกันได้ ซึ่งในยุคสมัยนั้นการที่จะเชื่อมต่อเครื่องดนตรีเข้าด้วยกันจะต้องใช้งานเครื่องดนตรียี่ห้อเดียวกันเท่านั้น
ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นทำให้คนในวงการดนตรีต่างเบื่อหน่าย จนกระทั่งมีการจับมือของสองกลุ่มเพื่อสร้างมาตราฐานการใช้งาน MIDI ให้เป็นมาตราฐานและขจัดปัญหาการใช้งานเครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นโดยสองกลุ่มนี้คือ Japanese MIDI Standards Committee (JMSC) ซึ่งเป็นกลุ่มจากประเทศญี่ปุ่น กับกลุ่มทางประเทศอเมริกาที่ชื่อว่า American MIDI Manufacturers Association (MMA) ได้จับมือการสร้างมาตราฐานใหม่ให้กับ MIDI ในปี 1991 โดยใช้ชื่อว่า The General MIDI System Level 1 หรือเรียกกันทั่วไปว่า GM Format หรือ GM โดยมาตราฐาน GM นั้นจะมีเครื่องดนตรีและเสียงซาว์เอฟเฟคต์ต่าง ๆทั้งหมด 128 ชนิด โดยเครื่องดนตรีทุกเครื่องจะมีหมายเลขของตัวเองซึ่งเรียกเป็น Patch ดังนี้
1. PIANO
2. CHROMATIC PERCUSSION
3. ORGAN
4. GUITAR
5. BASS
6. STRINGS
7. ENSEMBLE
8. BRASS
9. REED
10. PIPE
11. SYNTH LEAD
12. SYNTH PAD
13. SYNTH EFFECTS
14. ETHNIC
15. PERCUSSIVE
16. SOUND EFFECTS
แต่มาตราฐาน GM ก็ยังไม่ตอบโจทย์การใช้งานที่ครอบคลุม เพราะในปัจจุบันวงการดนตรีได้มีการพัฒนาเส้นเสียงที่มากขึ้นเสียที่ถูกกำหนดภายใน GM 128 ชนิดไม่เพียงพอต่อการใช้งานจึงทำให้ ROLAND CORPERATION ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องดนตรีชั้นนำของโลกบริษัทหนึ่ง ได้คิดมาตราฐานใหม่สำหรับการใช้งาน MIDI ขึ้นมาก็คือมาตราฐาน GS โดยมาตราฐาน GS ได้ถูกพัฒนามาจากมาตราฐาน GM เพียงแต่มีการเพิ่มเสียงให้มากขึ้นเป็น 189 เสียง
ปัจจุบันเครื่องดนตรีที่ใช้มาตราฐาน GM ก็สามารถที่จะเชื่อมต่อเครื่องเล่นที่มีมาตราฐาน GS ได้ แต่เครื่องดนตรีที่ใช้มาตราฐาน GM จะมีเสียงออกมาไม่ครบหรือไม่ถูกต้องเท่านั้นเอง ในอนาคตมาตราฐาน GS จะเข้ามาแทนที่มาตราฐาน GM อย่างแน่นอนดูได้จากเครื่องดนตรีและคอมพิวเตอร์ที่พัฒนารองรับมาตราฐาน GS มายิ่งขึ้นนั่นเอง