DRAM คืออะไร

คอมพิวเตอร์ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของมนุษย์ ซึ่งในช่วงเริ่มแรกนั้นคอมพิวเตอร์สร้างจากแนวคิดเพื่อให้ช่วยเป็นเครื่องคำนวณที่มีความเร็วและแม่นยำ หลังจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกได้ปรากฏขึ้นซึ่งมีขนาดใหญ่ ก็ได้มีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถมากขึ้น ตอบสนองการใช้งานที่มากขึ้นรวมถึงมีการดีไซน์ที่ทันสมัยและเล็กลงทำให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น

DRAM คืออะไร
ในคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบต่างๆที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ต่างมีความสำคัญทั้งสิ้น เพราะถ้าขาดชิ้นส่วนไหนไปแล้วคอมพิวเตอร์ก็จะไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งในบทความนี้จะมากล่างถึง DRAM (ย่อมาจาก Dynamic Random Access Memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำสำรอง ที่คอมพิวเตอร์จะขาดไม่ได้เลย เพราะถ้าไม่มีหน่วยความจำ RAM แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถเปิดติดได้เลย

แรม (RAM) เป็นหน่วยความจำสำรอง ซึ่งจำทำงานควบคู่ไปกับซีพียู ความเร็วในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะเร็วหรือช้าแรมมีส่วนสำคัญในการกำหนดความเร็วอย่างมาก จุดเด่นของหน่วยความจำสำรองก็คือ เมื่อไม่มีไฟฟ้าจ่ายพลังงานให้กับหน่วยความจำสำรองแล้ว ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไปหมดไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนกับหน่วยความจำถาวร

DRAM

ตัวอย่าง DRAM

แรมแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งหลักแบ่งออกเป็น 11 ประเภทด้วยกันคือ
1. Static Random Access Memory (SRAM)
2. Dynamic Random Access Memory (DRAM)
3. Fast Page Mode DRAM (FPM DRAM)
4. Extended-Data Output (EDO) DRAM
5. Synchronous DRAM (SDRAM)
6. Double data rate synchronous dynamic RAM ( DDR SDRAM )
7. Rambus DRAM (RDRAM)
8. Credit Card Memory
9. PCMCIA Memory Card
10. CMOS RAM
11. VRAM

แต่ในบทความนี้จะลงลึกเกี่ยวกับ แรมประเภท Dynamic Random Access Memory (DRAM) ซึ่งถือว่าเป็นแรมที่เป็นต้นแบบให้กับแรมในรุ่นปัจจุบัน จะเห็นได้จากประเภทของแรมที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นหลังจากข้อที่ 3 มาจะมีการพัฒนาแรมมาจากต้นแบบคือ DRAM ทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันที่มีใช้งานกันอยู่อย่างแพร่หลายก็คือ DDR SDRAM หรือที่เรียกกันติดปากว่า DDRAM นั่นเอง

Dynamic Random Access Memory (DRAM) เป็นแรมที่มีการรีบู๊ตตัวเองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีหน่วยเป็นมิลลิวินาที สาเหตุที่ทำให้ DRAM ต้องมีการรีเฟรซหรือรีบู๊ตตัวเองอยู่ตลอดก็มาจากอุปกรณ์ที่นำมาใช้เป็นตัวเก็บประจุ (Capacitor) ซึ่งลักษณะการทำงานของตัวเก็บประจุนั้นจะทำการคายประจุอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะต่อเข้ากับทรานซิสเตอร์ โดยเราสามารถสังเกตว่า DRAM ตัวนี้มีความเร็วในการอ่านและเก็บข้อมูลขนาดไหนจะดูได้จาก Access Time หรือเวลาที่ใช้ในการเอาข้อมูลในตำแหน่งที่เราต้องการออกมาให้ ซึ่งมีค่าเป็นนาโนวินาที(NS)ซึ่งค่านี้ยิ่งน้อยเท่าไรก็แปลว่าแรม DRAM ก็จะสามารถทำงานได้รวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น

หลังจากที่มีการผลิต DRAM ออกมาไม่นานก็มีการพัฒนา DRAM ให้มีความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่รวดเร็วขึ้นซึ่งเริ่มตั้นแต่ Fast Page Mode DRAM (FPM DRAM) ซึ่งมีความเร็วในการหาข้อมูลเร็วกว่า DRAM 2 เท่า Extended-Data Output (EDO) DRAM จะมีความเร็วในการหาข้อมูลที่เร็วกว่าแบบ FPM ประมาณ 10 เปอร์เซนต์ และ Synchronous DRAM (SDRAM) จะมีความเร็วมากกว่า EDO ประมาณ 25 เปอร์เซนต์

About comadmin

Check Also

Domain Name คืออะไร

โดยปกติแล้วการเข้าเว็บไซต์หรือการใช้อินเตอร์เน็ต เมื่อเราต้องการเข้าไปดูเว็บไซต์ๆหนึ่งเราจะต้องพิมพ์เป็น IP ของเว็บไซต์นั้นซึ่งมันยากต่อการจดจำเป็นอย่างมาก นักพัฒนาเลยได้มีการพัฒนาให้มีการเรียกใช้งานเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้นด้วยการคิดค้น Domain Name ขึ้นมาใช้เรียกแทน IP ซึ่งการใช้ Domain Name นั้นมีความสะดวกสบายกว่าการใช้ IP เพราะเป็นการใช้คำที่ใช้กันอยู่ทุกวัน …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *